วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่6 อินเทอร์เน็ต

 ประวัติความเป็นมา


อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน

ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

       ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้

ด้านการศึกษา 
       -สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
       -ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
       -นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 


ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น 


ด้านการบันเทิง           

      -การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป 
       -สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 
       -สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

โทษของอินเทอร์เน็ต         



 - โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย

- อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก 

- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน 

- เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา 

 - ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว 


โรคติดอินเทอร์เน็ต 

         โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
   - ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ 
   - ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ 
   - ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย) 
   - มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
   - ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร 
   - เติบโตเร็วเกินไป 

ของผิดกฏหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ         
    -รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ตแม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต 
    -มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ 
    -รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้ 
    -คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น 
    -ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา 
    -หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง 
    -มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย 
        ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย 
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
  • การเชื่อมต่อแบบบุคคลเป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อ
    เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูง
    มากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบDialUpโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็น
    สมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่
    ระบบ อินเตอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า
    (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
    1.  คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่
    166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป

    2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง(Impulse)ซึ่งสามารถส่งผ่านสาย
    โทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูล
    ที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณ
    อนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด
    แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
-  โมเด็มแบบติดตั้งภายในโมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมา
ติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์์โดยตรงรูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะ
ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบนเมน
บอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอกส่วนมากโมเด็มติดตั้งภาย-
ในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง
portอนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิว-
เตอร์จะต่อทางslotมาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อ
ที่ภายนอกใดๆเลยและโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้า
กับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์์ธรรมดาแบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย

-  โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม
ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร
และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C

-  PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือมีขนาดเท่าบัตรเครดิตและหนาเพียง5มิลลิเมตรเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
โมเด็มชนิดติดตั้งภายนอก ภายใน         และ   PCMCIA

ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


3.  คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม

4.  บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)

  (1.) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล 
 
           
การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน(User)หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการ
ที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกันสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณ
ดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณ
อนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง
         
สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจ
สอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องก็จะ
ได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่าน
เครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที
(2.) การเชื่อมต่อแบบองค์กร   
              จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ(Server)ด้านต่างๆและมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้ 


  1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server)ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ
    หน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
  2. ดิจิตอลโมเด็ม(NTU)และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง(Router)คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
    ดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อ ด้วยหมายเลขIP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ
  3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ
  4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น
    SchoolNet1509ซึ่งจะกำหนดหมายเลขIPAddressของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำ-
    หรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย


           
การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งาน
ของเครือข่ายสูงมีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิกเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็น
จำนวนมาก มีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนปริมาณมาก และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น